วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

AI613 Class7 lecture summary

Mobile Commerce (M-Commerce)

เป็นเทรนใหม่ในการทำธุรกิจ E-commerce ทำให้ผู้ใช้สามารถทำการซื้อขายสินค้าผ่านมือถือพวกสมาทโฟนได้ ซึ่งมือถือพวกสมาทโฟนนั้นมีการพัฒนามาอย่างยาวนานและถูกผลิตออกมาใช้ครั้งแรกในปี 1983

มูลค่าเพิ่มที่ทำให้มีการพัฒนา M-Commerce
  • สะดวก
  • สามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา
  • สามารถใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตได้
  • ตรงกับความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน


Drivers of Mobile Computing & M-Commerce

  • ทุกคนมีการใช้มือถือ และมีแนวโน้มที่จะมีการใช้มือถือแบบสมาทโฟนมากยิ่งขึ้น
  • ไม่จำเป็นต้องมีการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์เพื่อต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต
  • ราคาของมือถือที่ลดลง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
  • มีการเพิ่มขึ้นของความเร็วในการต่้อสัญญาณเข้ากับอินเตอร์เน็ต จาก EDGE เป็น 3G
  • มีการพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่ทำให้ต่ออินเตอร์เน็ตผ่านการใช้ wiless lan ได้
  • มีการให้บริการของผู้ให้บริการทางด้านเครือข่าย เช่น 3G 4G Wifi มากยิ่งขึ้น


ตัวอย่าง M-Commerce
  • Mobile Shopping
  • Mobile Banking เช่น กสิกรไทยมีบริการ เช็ค โอน เตือน จ่าย ธุรกรรมต่างๆ
  • Information based Service
  • Lacation Based Service เช่น Foursquare
  • Mobile Auction
  • Mobile Access to Corporate Intranet เช่น การใช้ BB
  • Mobile Travel Information and booking
  • Mobile Marketing and Advertising
Mobile Computing Infrastucture
  • WAP ต้องมีการเซ็ตให้ตรงกับสแตนด์ดาร์ดที่เรียกว่า Protocol ขึ้นมาเพื่อให้ฮาร์ดแวร์ต่างๆสามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ
  • Markup languages เช่น XHTML เป็นภาษาสำหรับพวก tablet
  • Mobile development คือพวก .NET compact, Java ME
  • Mobile Emulators คือ ซอฟแวร์ที่ทำให้สามารถใช้ซอฟแวร์อีกตัวนึงได้
  • Microbrowsers เช่น Android, Safari
  • HTML5 เป็นภาษามาตรฐานที่กำลังมีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นเหมือนพวก Java หรือ Flash ซึ่งมีข้อเสียคือต้องมีการอัพเดทตลอดเวลา ดังนั้นหากพัฒนาภาษานี้ได้ ก็จะไม่ต้องพึ่งพาการอัพเดทหรือลง plug-in ให้เข้าใจภาษาพวก Java หรือ Flash ได้
Mobile Computing Basic Terminology
  • Bluetooth เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระยะใกล้
  • EMS (Enhanced messaging service) เป็นเทคโนโลยีการส่งข้อความที่มี ภาพ หรือเสียงเล็กน้อย นอกเหนือจาก text
  • GPS (Global positioning system)เป็นเทคโนโลยีการระบุตำแหน่งโดยการใช้ดาวเทียม
  • MMS (Multimedia messaging service)เป็นเทคโนโลยีข้อความที่สามารถส่งข้อความภาพพร้อมเสียง media ต่างๆ
  • PDA (Personal digital assistant) เป็นอุปกรณ์ที่เป็นมือถือที่เหมือนคอมพิวเตอร์พกพา
  • SMS (Short messaging service) เป็นเทคโนโลยีในการส่งข้อความตัวอักษรผ่านมือถือ อาจเทียบได้ว่าเป็น e-mail of m-commerce
  • Smart phones เป็นมือถือรุ่นใหม่ที่มีความสามารถต่อเข้ากับโลกอินเตอร์เน็ตได้
  • WiMax เป็นระบบส่งสัญญาณ wifi ครอบคลุมพื้นที่ทั่วเมือง โดยมีการตั้งเสาสัญญาณใหญ่เพียงเสาเดียว
3G ในเมืองไทย ที่มีการพูดถึงว่าแอร์การ์ด 3G นั้น หมายถึง แอร์การ์ดนั้นสามารถรองรับระบบ 3G ได้ แต่ยังไม่สามารถรับส่งข้อมูลในระดับความเร็ว 3G มีเพียงของ iMobile 3GX เท่านั้นที่มีสามารถรับส่งข้อมูลผ่านสัญญาณระบบ 3G ได้จริง

Android มีที่มาจาก Google พัฒนา OS ให้เหมือน Microsoft แต่ให้ใช้ได้ในมือถือ แล้วขายให้กับค่ายมือถือต่างๆเอง
iPhone พัฒนา OS ให้ใช้งานง่าย โดยพัฒนาให้กับมือถือของตัวเอง
BB พัฒนา OS ให้สามารถใช้งานในธุรกิจได้ง่าย ทำให้ใช้ในวงธุรกิจค่อนข้างมาก ยกเว้นเมืองไทยที่ไว้ใช้แชทบีบี

M-Commerce Business Models
  • Usage fee model (subscription based/usage based)
  • Shopping Business Models
  • Marketing business Models
  • Improved Efficiency Models
  • Advertising Business Models (Flat fees/Traffic-based fees) Revenue-Sharing Business Models
Mobile Banking คือเราสามารถทำธุรกรรมธนาคารผ่านมือถือ
Apple มี iTunes เพื่อจัดการไฟล์และแอพพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งทำให้ช่วยแก้ปัญหาทางด้านรายได้ที่ลดลงของค่ายเพลงที่เกิดจากผู้ฟังใช้การโหลดฟรีแบบผิดลิขสิทธิ์ ทำให้ค่ายเพลงต่างๆต้องเปลี่ยนช่องทางการจัดจำหน่ายมาผ่านการขายโดยการโหลด ซึ่ง iTunes เป็นช่องทางหนึ่งท่ประสพความสำเร็จ เพราะ iTunes มองว่ายังมีคนที่เต็มใจจะจ่ายซื้อเพลงหากราคาเหมาะสม ซึ่งทำให้ค่ายเพลงต่างๆภามยหลังต้องยอมมาขายเพลงผ่านช่องทางนี้ เช่นค่าย Sony

iBook เป็นหนึ่งในช่องทางรายได้ของ Apple เพื่อเซฟอุตสาหกรรมหนังสือ จึงมีการสร้าง App Store ที่ขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนา iBook ขึ้นมาเพื่อใช้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้

Mobile Applications in Sports เป็นการผสมผสานระหว่างการใช้กับดีไซน์โปรดักส์ต่างๆ ทำให้สามารถเพิ่มราคาได้

Location-Based Services and Commerce
เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้สามารถรู้ได้ว่า ผู้ใช้ไปอยู่ที่ไหน แล้วส่งข้อความบอกว่าตอนนี้ที่นั่นกำลังจัดงานอะไร มีโปรโมชั่นอะไร

Global Positioning Systems (GPS) เป็นระบบที่ทำให้สามารถรู้ที่อยู่ปัจจุบันของตัวเรา และสามารถบอกทิศทางและบอกทางที่จะไปยังจุดหมายที่เราต้องการได้

Foursquare เป็นแอพพลิเคชั่นที่เราต้องไปโหลด แล้วกดล็อกอินเข้าใช้ เพื่อระบุที่ที่เราไป check-in ซึ่งหากเราเข้า check-in ในพื้นที่นั้นหรือร้านนั้นบ่อยๆ เราก็จะได้ Offer โปรโมชั่นพิเศษสำหรับร้านนั้นๆด้วย

Best Buy Shop Kicks
เป็นแอพพลิเคชั่นที่จะส่งคูปองโปรโมชั่น แล้วสามารถใช้มือถือไปแสกนเพื่อรับส่วนลดได้เลย

iAd เป็นการพัฒนาสื่อทางโฆษณารูปแบบใหม่ที่ทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น โดยผู้รับสื่อสามารถมีส่วนร่วมในการดูโฆษณา ดูข้อมูล ทดลองดูฟังก์ชั่นของสินค้าได้ผ่านโฆษณาในรูปของแอพพลิเคชั่นทีคล้ายๆเกมส์แฟลช

Augmented Reality เป็นแอพพลิเคชั่นที่นำข้อมูลจากภาพจริงมาแปลงเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการใช้ เช่นแปลงรูปที่มีภาษาสเปน เป็นรูปนั่นๆที่อยู่ในรูปภาษาอังกฤษ หรือเช่นแสกนภาพบ้าน แล้วโปรแกรมจะแสดงผลว่าราคาค่าเช่า ราคาซื้อขายอยู่ที่เท่าไหร่ ต้องติดต่อใคร เป็นต้น

Technical and other limitations of mobile computing
  • Insufficient bandwidth ช่องสัญญาณที่ไม่มีประสิทธิภาพ
  • Security standards
  • Power Consumption
  • Transmission Interferences
  • GPS Accuracy
  • Potential Health Hazards
  • Human Interface with Device
  • Small Screens
  • Reduced memory
  • Limited Bandwidth
  • Restricted input capabilities
  • Cost – it’s readily available; why pay for it?
  • Trust ความน่าเชื่อถือของการใช้เทคโนโลยี หากดูไม่น่าเชื่อถือคนก็ไม่อยากใช้ 
Presentation

  • Mobile robot เป็น เครื่องจักรกลชนิดหนึ่งที่มีรูปร่าง ลักษณะ ตามวัตถุประสงค์ที่มันต้องทำ ถูกสร้างมาเพื่อทำงานแทนคน โดยเฉพาะงานที่ยากลำบาก เช่น หุ่นยนต์ในงานอวกาศ หุ่นยนต์ในการแพทย์ ประเภทของหุ่นยนต์แบ่งได้ทั้งตามลักษณะการเคลื่อนที่ได้หรือไม่ได้ และรูปลักษณ์ภายนอก
  • Virtual world ถูกนำมาใช้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ แต่ส่วนใหญ่จะถูกนำมาใช้กับเกมส์ที่มีตัวละคร รูปแบบการเล่นคล้ายชีวิตจริง ตัวอย่างการนำมาใช้เช่นVirtual tour ที่ให้คนหรือผู้ใช้เสมือนได้ไปท่องเที่ยวในสถานที่จริงๆ และสามารถเลือกสถานที่ที่ต้องการเข้าชมได้ตามต้องการ
  • E-book Reader เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถอ่าน E-book ได้และสามารถเก็บ E-book ในรูปแบบไฟล์ต่างๆ เช่น .pdf, .doc, .jpg โดยมีระบบการแสดงผล 2 แบบ ได้แก่
    • LCD เหมือนจอโน๊ตบุคทั่วไปทำให้หน้าจอแสดงสีสดใสในรูปแบบที่สวยงาม แต่ทำให้สายตาล้าได้ง่าย เนื่องจากการแสดงผลมีการกระพริบอยู่ตลอดเวลา
    • E Ink แสดงผลคล้ายอ่านจากกระดาษทั่วไป แต่มีข้อเสียในการที่ต้องอาศัยแสง ถึงจะมองเห็นอักษรได้

    วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    AI613 Class6 lecture summary

    ตัวอย่างคลาสสิกที่ของ E-Business ที่เป็น E-commerce เช่น
    - Dell ให้ลูกค้าซื้อสินค้า โดยระบุ spec เองได้ผ่านทาง Internet ทำให้ตั้งราคาสูงได้ อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อคู่แข่งเยอะ ทำให้ Dell ต้องขายให้ได้จำนวนมากเช่นเดียวกับคู่แข่งอื่นๆ โดยมี Customer Service อยู่ที่ India
    - E-Bay เป็นเว็บไซต์ที่ให้คนเข้ามาประมูลขายของ
    - Amazon เป็นเว็บไซต์ที่ขายหนังสือผ่านช่องทาง internet
    - Click & Mortar มีการขายผ่านช่องทางทั้ง online and offline ในขณะที่ Brick& Mortar มีอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น

    รูปแบบของ E-Business แบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้
    1. Business-to-Business (B2B)
    2. Business-to-Consumer (B2C)
    3. Consumer-to-Consumer (C2C)

    E-commerce Model
    - Affiliate marketing หาคู่ค้า โดยมี code affiliate ประจำตัวต่อคู่ค้าแต่ละคน เมื่อมีลูกค้าซื้อสินค้าผ่านการเชื่อมโยงมาจากเว็ปไซต์ของคู่ค้า คู่ค้าจะได้เปอร์เซ็นต์จากการขาย
    - Batering เว็ป คอนเซ็ปคือการแลกเปลี่ยน เช่น www.craigslist.com คนใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันฟรี เช่น แลกของ ซื้อของ, Couchsurfing.com คล้าย facebook ของนักท่องเที่ยว ถ้าไปเที่ยวที่ที่มีสมาชิกอยู่ก็ไปนอนบ้านเค้าก็ได้ หรือPriceline.com ใช้เวลาซื้อตั๋วเครื่องบิน โดยให้ลูกค้าแจ้งราคาที่ต้องการเข้าไป แล้ว Priceline ทำหน้าที่ Matching
    - Online Advertisers, Marketers & Students เช่น facebook
    - Company-sponsored Socially Oriented Sites เช่น eblogger
    - API คือ Application Programming Interface เช่น iphone มี app เยอะ พวกนักพัฒนาจะต้องมี code API ของ apple ซึ่งเป็น Code โดยเฉพาะ เพื่อเอาไปสร้าง app เพื่อมาใช้กับ iphone ของค่าย apple ได้, Paypal ดีกว่าการตัดบัตรเครดิตปกติตรงที่มีความปลอดภัย และสามารถปริ้นใบเสร็จจาก Paypal แล้วเอาไปจ่ายเงินสดที่ธนาคารได้ นอกจากนี้ยังมี youtube และ google map

    ประโยชน์ของ E-Commerce

    - สามารถเปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    - ตัดปัญหาเรื่องการต่อรองราคาสินค้า
    - ลดค่าใช้จ่ายในด้านการติดต่อ (Transaction Cost)
    - เพิ่มโอกาสในการขายและการเปิดตลาดใหม่ ของ SMEs
    - การประชาสัมพันธ์ทำได้ง่ายขึ้น
    - ติดต่อลูกค้าสะดวกมากยิ่งขึ้น
    - ขยายฐานลูกค้าได้ทั่วโลก

    ข้อจำกัดของ E-Commerce
    - Standard อาจจะไม่เหมือนกัน เนื่องจาก browser ที่ support ไม่เหมือนกัน
    - ไม่ปลอดภัยจาก hacker ที่ขโมยข้อมูลระหว่างทาง
    - กฎหมายการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันในแต่ละประเทศ

    Social commerce/ Social shopping

    เป็นแนวคิดที่ว่า การตัดสินใจของคนเรา มักจะเชื่อเพื่อนหรือคนรู้จักมากกว่าการโฆษณา ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่ว่าถ้ามีรูปเพื่อนถ่ายกับสินค้านั้นๆ แล้วก็สามารถ link ไปดูข้อมูลสินค้า แล้วซื้อสินค้าได้เลย ซึ่งในอนาคต พวก Social Network เช่น facebook อาจจะมี และอาจกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของ Google หาก Facebook สามารถสร้าง Search engine ของตนเองขึ้นมาได้ Search Engine ของ facebook จะสามารถค้นหาความคิดเห็นที่มีต่อสินค้านั้นๆได้มากกว่า Google)

    Blogging and Wiki เกี่ยวข้องกับ E-commerce
     

    - E-Auction ประมูล เช่น Ubid , Ebay เป็นต้น
    - E-Classifieds ซื้อได้เลย ไม่ต้อง bid เช่น Half.com
    - Bartering and negotiation เช่น Swap.com
    - B2B auctions
    - Electronic Malls เช่น MSN Shopping, Cash back stores, Choice mall สามารถฝากขายสินค้าได้ ทำให้เหมือนผู้บริโภคไปเดินห้างของจริง
    - Taradb2b.com
    - Electronic Storefronts มีทั้งขายที่ห้างและขาย online ข้อดีก็คือได้หลายช่องทาง แต่ก็ต้องมี manager หลายคนคอยดูแลเสมอ
    - Customer Service online เช่น AIS, DTAC, True
    - Online Job market เช่น Dice JobCentral Monster เป็นต้น
    - Travel Services เช่น จองตั๋วเครื่องบิน รถเช่า โรงแรม เช่น HotelThailand.com

    Ethical and legal Issue
    สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ ความปลอดภัยของข้อมูล
    - ต้องพิจารณารูปกุญแจที่ปรากฏในเว็บ browser
    - ดู review ในเว็บว่าเค้าว่ายังไงกันดูจาก Consumerlist.com


    Presentation

    Cloud computing คือวิธีการประมวลผลที่มีจุดเด่นในการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยเมื่อผู้ใช้ระบุความต้องการไปยังระบบ ระบบจะทำการจัดสรรทรัพยากรให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ สามารถขยายหรือปรับเปลี่ยนได้ตาม Service Provider มีลักษณะที่สำคัญ 5 ประการ
    1.On demand
    2.Board Network Access
    3.Resource Pooling
    4.Rapid Elasticity
    5.Measured Service

    ประโยชน์ของ Cloud computing มีอยู่หลายประการ ได้แก่
     
    - Cost saving เนื่องจากการให้บริการผ่าน Cloud Computing เป็นระบบการให้บริการแบบ Share ทรัพยากรทั้งส่วนจัดเก็บข้อมูล Application และการประมวลผลบนInternet จึงเกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale)
    - Scalability สามารถเลือกใช้บริการเฉพาะอย่างและเลือกเสียค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนให้ตรงกับความต้องการเฉพาะด้านหรือสอดคล้องกับงบประมาณของตนได้
    - Access to top-end IT capabilities ทำให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรด้าน IT ที่ดีได้ โดยไม่ต้องมีเงินลงทุนจำนวนมาก
    - Focusing on core competencies ทำให้องค์กรสามารถFocusจุดแข็งขององค์กรได้ โดยไม่ต้องแบ่งมาลงทุนด้าน IT
    - Efficient asset utilization ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบมีการ share ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
     

    Health Informatics คือ การนำข้อมูลที่เกี่ยวกับทางด้านสุขภาพมาผนวกกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากร ใช้พัฒนาข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณสุข และนำมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการได้มา การเก็บรักษาและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เกี่ยวสุขภาพ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
    1.ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม
    2. ด้านสุขภาพ ตั้งแต่เกิดจนตาย
    3.ทรัพยากรบุคลของคนที่ทำงานด้านสาธารณสุข
    4.กิจกรรมสาธารณสุข
    5.บริหารจัดการ
    หรือสามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทตามภารกิจได้แก่

    1.สาธารณสุขเพื่อการบริหาร
    2.สาธารณสุขเพื่อการบริการ
    3.สาธารณสุขเพื่อการวิชาการ


    Web 2.0 คือ Website ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีลักษณะสำคัญ 7 ประการ คือ

    1. Network as platform สามารถใช้งานผ่าน Web Browser ได้ โดยไม่ต้องโหลดเข้ามาในเครื่อง
    2. ผู้ใช้งานที่เป็นเจ้าของข้อมูลบน "website" นั้น สามารถดำเนินการใดๆ ก็ได้กับข้อมูลนั้น
    3. ผู้ใช้มีส่วนร่วมมากขึ้นไม่ใช่แค่อ่านได้อย่างเดียว
    4. มี User interface ที่ดีขึ้น
    5. สามารถโต้ตอบกันได้
    6. มีความรวดเร็วและง่ายในการส่งข้อมูลมากขึ้น
    7. มีการเอา Function ใช้งานจากหลายเว็บรวมเข้าด้วยกัน

    เปรียบเทียบ Web 1.0 กับ Web 2.0

    Web 1.0 จะเป็นการสื่อสารทางเดียว คือจากเจ้าของเว็ปไซต์ซึ่งเป็นคนเดียวเท่านั้นที่สามารถใส่ข้อมูลลงในเว็บนั้นได้ แต่ Web 2.0 ทั้งเจ้าของและผู้ใช้สามารถโต้ตอบกันได้ โดยเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้เว็บทำงานได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น AJAX ทำให้เว็ปทำงานเร็วขึ้น, SaaS(Software as service) เป็นซอฟแวร์บนเว็บที่ให้บริการโดยไม่ต้องซื้อ, RSS เป็นการอัพเดต content,ข้อมูลใหม่ๆ และตัวอย่างเว็บไซต์ยุค Web 2.0 ที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก YouTube, MySpace, Facebook, Wikipedia เป็นต้น

    วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    AI613 Class5 lecture summary

    ตัวอย่าง Case California state automobile association
    ปัญหา – IT infrastructure เริ่มไม่มีประสิทธิภาพไม่สามารถเชื่อมต่อกับคู่ค้าได้ ทำให้ต้องเปลี่ยนระบบ server โดยใช้ Web Farms แทน ทำให้รักษาความปลอดภัยของข้อมูล ส่งของได้เร็วขึ้น ลดต้นทุน ซึ่งคาดว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีกลับมา
     
    Justifying investment in IT and EC (E-commerce) at California state automobile association
    1. Technology and Economic Trends and the Productivity Paradox
     
    Moore’s Law  
         คาดว่า power of computer chip มีคุณภาพดีขึ้นทวีคูณ ในทุกๆเดือนในขณะที่ต้นทุนยังคงที่ ทำให้มีของดีในราคาที่ถูกมากขึ้น และเมื่อถึงจุดอิ่มตัวของเทคโนโลยีนี้ จะต้องมีการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีอื่น เช่น Quantum Computing  
    Productivity Paradox 
         การลงทุนใน IT อาจจะไม่ได้เกิดผลดีเสมอไป และมักวัดผลที่เกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งในบางครั้งการลงทุนใน IT อาจทำให้ Productivity แย่ลงได้ เพราะการลงทุนใน IT นั้นอาจต้องรอเห็นผลในระยะยาว ซึ่งทำให้สูญเสียโอกาสของเงินที่นำไปลงทุนใน IT นั้นไปด้วย อาจจำแนกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
    First impact ลงทุน IT แล้วได้รับผลโดยตรง เช่น ได้กำไร
    Second impact ลงทุน IT แล้วได้รับผลในทางอ้อม เช่น ภาพลักษณ์ดีขึ้น
         2. Evaluating IT Investment 
     
         Why Justify IT Investments
          เนื่องมาจากการลงทุนใน IT ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการประเมินสิ่งต่างๆก่อนการตัดสินใจที่จะนำมาใช้ โดยอาจใช้วิธีที่ง่ายที่สุดคือ Cost & Benefit Analysis โดยอาจมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการตัดสินใจ เช่น ทำให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น เพื่ออยู่รอดในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม มีบางครั้งที่อาจไม่สามารถหรือไม่จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ตัดสินใจในการลงทุนใน IT เนื่องมาจาก 
    1.อาจใช้เงินทุนน้อยมาก
    2.จัดว่าเป็น Infrastructure
    3.ผู้บริหารเป็นคนสั่งการ
    4.ข้อมูลไม่เพียงพอ

         Difficulties in Measuring 
         Productivity & Performance Gains
          ไม่รู้จะวัดประโยชน์จากโครงการลงทุนอย่างไร ตัววัดที่เหมาะสมหาได้ยาก ไม่สามารถวัดผลจากการดำเนินงานได้ หรือผลที่ได้จากการลงทุนเห็นผลได้ช้า ทำให้วัดได้ยาก
         Intangible Benefits
          ยากที่จะวัดเป็นหน่วยเงิน เช่นการวัดความพึงพอใจของลูกค้า ทำให้บางครั้งอาจลืมสนใจนำประเด็นนี้มาชั่งน้ำหนักใน Cost & Benefit Analysis ด้วย

         Costing IT Investment
    มีอยู่ 2 ส่วน ได้แก่
    Fixed costs เช่น Hardware & Software
    Transaction costs ต้นทุนที่เกิดระหว่างการดำเนินงาน ได้แก่
    • Search cost
    • Information cost
    • Negotiation cost
    • Decision cost
    • Monitoring cost
    Revenue Models generated by IT&Web
    Sales จาก E-commerce
    Transaction fees เช่น EBAY , บริษัทรับจองตั๋วต่างๆ
    Subscription fees จากการขาย service เพิ่มเติม เช่น เว็บให้ดาวน์โหลดเร็วขึ้น
    Advertising fees เช่น GOOGLE
    Affiliate fees เช่น AGODA เอาแบนเนอร์มาแปะ แล้วพอมีคนเข้าไปซื้อโดยผ่านเรา เราก็จะได้ Commission

    Cost & Benefit Analysis
    จะตัดสินใจลงทุนก็ต่อเมื่อมี Benefit ที่ได้มากกว่า Cost ที่เสียไป มี 2 steps
    1.Identifying & estimating all cost and benefits
    2.Expressing these costs and benefits in common units

    Cost ประกอบด้วย
    Development cost,Setup cost,hardware and Operational

    Benefits ประกอบด้วย
    Direct benefits, Assessable indirect benefits (Second order impact) and Intangible benefits(ต้องพยายามตีเป็นหน่วยเงินให้ได้)

    Cash Flow Forecasting   
    ประเมินตัวเงินที่คาดว่าจะได้ส่วนเพิ่มจากการลงทุน การคาดการณ์ future cash flows โดยปกติจะ ignore the effects of inflation ซึ่งมีการวิเคราะห์ Cost Benefit ด้วยเทคนิคต่างๆหลายวิธีเช่น
    1. Net profit ง่าย สนใจแค่กำไรในตอนทาย ข้อเสียคือไม่คำนึงถึงผลตอบแทนแต่ละปีและไม่คำนึงถึงค่าเงินตามเวลา
    2. Payback Period สนใจแค่ระยะเวลา ไม่สนใจเรื่องจำนวนเงิน
    3. Return on investment (ROI) ไม่สนใจมูลค่าเงินตามเวลา
    4. Net present value(NPV) สะท้อนมูลค่าเงินตามเวลา แต่ยากที่จะเลือก discount rate เท่าไร 
    5. Interest rate of return (IRR)  มองหาจุดที่ NPVเท่ากับ 0 วัดProfitability ได้ดีกว่า NPV เพราะ NPV ไม่ได้เทียบเป็น percentage   สามารถใช้ excel คำนวณได้
    อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสมและควรใช้ประกอบกัน

         3. Advances Methods for Justifying IT Investment and Using IT Metrics
     
    Balanced scorecard method
    มองผลจากการดำเนินงานหลายด้าน นอกจากการเงิน โดยมอง 4 มุมมอง ได้แก่
    - Financial เพิ่มกำไร รายได้ ลดต้นทุน
    - Customer ความพึงพอใจ ฐานลูกค้า
    - Internal Process เพิ่ม Productivity คุณภาพ ลดเวลาในการทำงาน
    - Learning and Growth ทักษะของพนักงาน อัตราการลาออก Turnover

         4. Economic Aspects of IT and Web-Based System
    E-commerce ช่วยให้กิจการมียอดขายมากขึ้น ทำให้การผลิตเกิด Economies of scale และมีต้นทุนลดลง อย่างไรก็ตาม E-commerce มีข้อเสียคือ อาจเป็นการดึงดูดคู่แข่งเข้าสู่การแข่งขันในด้านนี้มาก
    E-Procurement Metrics วัดว่าเอา IT มาใช้แล้วดีหรือไม่ดี ทำให้ purchase order processing time ลดลง เช่น เลือก suppliers, ส่ง order, ออก P.O., ส่งสินค้าได้ตรงเวลา ,ลูกค้าปฏิเสธการรับสินค้าลดลง
    CRM อาจดูจากยอดขายว่าเพิ่มขึ้นหรือไม่ บริการได้รวดเร็วขึ้นหรือไม่
    E-commerce เป็น web-based systems แต่การลงทุนควรเป็นเพราะว่าเป็นการสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร ไม่ใช่มีเว็บเพื่อเป็นไปตาม trend สมัยที่ .com boom 
     
         5. Managerial Issues
    - Constant growth & change เตรียมพร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการแข่งขันที่ต้องขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี
    - Shift from tangible to intangible benefits ให้ความสำคัญกับด้านคุณภาพด้วย
    - Not a sure thing ต้องมีการวัดอย่างสม่ำเสมอว่า IT ที่ใช้อยู่นั้นยังทำงานได้เหมาะสมกับองค์กรหรือไม่ มีเทคโนโลยีใหม่ๆที่เพิ่ม Productivity ได้ดีกว่าหรือไม่ ทำให้ที่ใช้อยู่นั้นไม่เหมาะสมกับองค์กรแล้ว
    - Chargeback มองหาวิธีในการดึงดูดให้ผู้ใช้เปลี่ยนพฤติกรรม
    - Risk พิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น รและหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงนั้น
    - How to measure the value of IT investment? จะใช้วิธีไหนมาวัดให้เหมาะสมมากที่สุด
    - Who should conduct a justification? ใครควรเป็นคนตัดสินใจว่าจะเลือก IT แบบไหน แต่เดิมจะเป็นฝ่ายการเงิน แต่ปัจจุบันจะเป็น Steering Committee และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกที่ศึกษาข้อมูลของผู้ใช้ทำให้รู้ปัญหาและความต้องการ


    นาย ศุลี พิเชฐสกุล
    5202113014