วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

AI613 Class14 lecture summary

Web 2.0
คือ เวอร์ชั่น 2 ของ www. เพราะอินเตอร์เน็ทไม่ใช่แค่เข้าไปอ่าน แต่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยน transaction กัน consumer เริ่มมีการสร้างข้อมูลด้วยตนเอง มีความร่วมมีกันระหว่างผู้ใช้งาน ทำให้สื่ออินเตอร์เน็ทเริ่มมีประโยชน์มากขึ้น เช่น wikipedia และเมื่อโมเดลนี้เริ่มชัดเจนขึ้น ก็เริ่มมีการขาย content ขายไอเดียใหม่ๆ เช่น itunes
นอกจากนั้น Web 2.0 ยังสามารถทำให้ผู้ใช้งานเข้ามามีส่วนร่วม และให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ เช่น review ในเว็บ amezon ทำให้เกิดข้อมูลรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำการตลาดได้ มีการ design ให้มีการใช้งานที่ง่าย และให้ความสำคัญกับ Social networks
ตัวอย่างบริษัทที่ทำ Web 2.0 คือ wikia, youtube, google, successfactors และอื่นๆ

Elements of Interaction in a Virtual Community

  • Communication: เช่น เว็บบอร์ด, ห้องสนทนา, อีเมล, แม็กกาซีนออนไลน์, บล็อค, voting ซึ่งมีเคสที่สำคัญคือ โอบามา ที่สามารถสร้างกระแสให้คนไปโหวตให้จนชนะการเลือกตั้งได้ เป็นต้น
  • Information: สมุดหน้าเหลือง, คำแนะนำ, ลิ้งค์ เป็นต้น
  • EC Element: แค็ตตาล๊อคออนไลน์, โฆษณา, ประมูล เป็นต้น
Types of Virtual Communities
  • Transaction and other business: เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อขาย
  • Purpose or interest: ไม่ได้มีไว้เพื่อการค้าขาย แค่เอาไว้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจ
  • Relations or practices: สมาชิกจะมีสิ่งที่สนใจร่วมกัน
  • Fantasy: สมาชิกมีจินตนาการในเรื่องเดียวกัน
  • Social networks: สมาชิกมีการติดต่อ สร้าง สนทนา และอื่นๆ ร่วมกัน
  • Virtual worlds: สมาชิกใช้ตัวสมมติเป็นตัวแทนตนเอง
Issues For Social Network Services
  • Lack of privacy controls ขาดความเป็นส่วนบุคคล
  • Inappropriate language translations among countries แปลภาษาที่ไม่เหมาะสม ใช้ภาษาที่เปลี่ยนไป
  • Fierce competition for users การแข่งขันกันระหว่าง User
  • Prey to illegal activities ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
  • Cultural objections may become volatile รับกระแสวัฒนธรรมต่างชาติ
Enterprise Social Networks Characteristics
Enterprise 2.0 ไม่ได้ใช้ทั่วไปเพียงอย่างเดียว แต่ใช้ภายในองค์กรด้วย เพราะ Social networks ทั่วไปอาจไม่ private จึงต้องสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ภายในองค์กร แต่ก็อาจใช้ Social networks ทั่วไป ในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าด้วย

Retailers Benefit from Online Communities
  • Source of feedback similar to focus group ได้ Feedback จาก Potential Customer จริงๆ
  • Viral marketing เช่น Burger King ที่อาจารย์เขวี้ยง BB
  • Increased web site traffic เพิ่มข้อมูลทาง Website
  • Increased sales resulting in profit เพิ่มยอดขาย
ตัวอย่าง
- YouTube: สามารถสร้างรายได้ได้มหาศาล เป็นแบรนด์ที่ดังในการสร้าง entertainment content โดยคนนิยมนำมาใช้เพื่อโฆษณาสินค้าของตน เช่น เพลงเกาหลี เพื่อให้คนพูดกันปากต่อปาก
- Robotics: นำมาใช้ทดแทนมนุษย์ในหลากหลายทาง เช่น กีฬา, สงคราม, ธุรกิจ, บันเทิง, ครัวเรือน และอื่นๆ
- Quantum Leaps Driven by IT: เปลี่ยน IT แค่จากการใช้งานเฉพาะธุรกิจ ไปสู่การ interactive ของลูกค้าผ่านทาง marketing และ feedback
- Telemedicine & Telehealth เช่น ออกกำลังกายไปแล้วใช้พลังงานเท่าไหร่, วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- Mobile Technology in Medicine: ส่งข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ โดยจะทำให้สามารถรักษาได้ในต่างประเทศ เช่น บำรุงราษฎร์
- Urban Planning with Wireless Sensor Networks: วางผังเมืองโดยใช้เทคโนโลยี
- Offshore Outsourcing: เช่น Software development หรือ call center operations
- Green Computing: จำลอง software เสมือนขึ้นมาหรือเปลี่ยนเทคโนโลยีเก่าทุก 3-5 ปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อประหยัดพลังงาน
- Telecommuting or Virtual Work: มีประโยชน์ทั้งต่อตัวบุคคล, ระดับองค์กร และสังคม
ประเด็นปัญหาต่างๆ
- Information Overload: ปริมาณข้อมูลที่มหาศาล
- Information Quality: มี ความจำเป็นอย่างมากในการทำงาน ดังนั้นจึงต้องระวังในเรื่องของความเกี่ยวข้องกันของข้อมูลและระวังในเรื่อง ของการตัดข้อมูลที่สำคัญออกไป
- Spam: เพิ่มรายจ่ายและลดประสิทธิภาพในการทำงาน
- Dehumanization & Other Psychological Impacts: อาจทำให้คนลดความเป็นตัวของตัวเองลง ซึมเศร้า หรือว่าอาจจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้
- Impacts on Health & Safety: เช่น การใช้คอมเป็นเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ไม่ว่าจะเป็นข้อมือ หรือสายตา
 ศุลี พิเชฐสกุล
5202113014

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

AI613 Class13 lecture summary

การรักษาความปลอดภัยระบบสารสนเทศและจรรยาบรรณเบื้องต้น
          ระบบสารสนเทศถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กร เนื่องจากองค์กรมีการเก็บข้อมูลและสารสนเทศต่างๆเอาไว้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากเกิดข้อมูลลูกค้าสูญหายหรือถูกขโมยไป ก็จะส่งผลเสียต่อองค์กรเป็นอย่างมาก ทำให้ระบบสารสนเทศจำเป็นต้องมีการรักษาความปลอดภัย


ความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ (Information system risk)
          หมายถึง เหตุการณ์หรือการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียหรือทำลายฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล สารสนเทศ หรือความสามารถในการประมวลผลข้อมูลของระบบ ซึ่งโอกาสที่จะเกิดความเสียหายในเรื่องของระบบสารสนเทศส่วนมากมักจะมาจากบุคคลากรในองค์กรเอง เนื่องจากบุคคลเหล่านี้มักเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลและเรื่องราวภายในองค์กร นอกจากนี้ลักษณะการใช้งานของบุคลากรยังอาจสร้างความเสียหาย เช่น การใช้ USB ที่มีไวรัส ซึ่งอาจทำให้ระบบหรือ Network เกิดความเสียหายได้ 
ประเภทของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของระบบสารสนเทศ
  • แฮกเกอร์ (Hacker)
  • แครกเกอร์ (Cracker)
  • ผู้ก่อให้เกิดภัยมือใหม่ (Script Kiddies)
  • ผู้สอดแนม (Spies)
  • เจ้าหน้าที่ขององค์กร (Employees)
  • ผู้ก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ (Cyberterrorist)
ประเภทของความเสี่ยงและการรักษาความปลอดภัย



1. การโจมตีระบบเครือข่าย (Network attack)
  • การโจมตีขั้นพื้นฐาน (Basic Attacks) เช่น กลลวงทางสังคม (Social engineering) และการรื้อค้นเอกสารทางคอมพิวเตอร์จากที่ทิ้งขยะ (Dumpster Diving )
  • การโจมตีด้านคุณลักษณะ (Identity Attacks) เช่น DNS Spoofing และ e-mail spoofing
  • การปฏิเสธการให้บริการ (Denial of Service หรือ DoS) เช่น Distributed denial-of-service (DDoS) , DoSHTTP (HTTP Flood Denial of Service)
  • การโจมตีด้วยมัลแวร์ (Malware)
    - โปรแกรมมุ่งร้ายที่โจมตีการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ไวรัส เวิร์ม โทรจันฮอร์ส และลอจิกบอมบ์
    - โปรแกรมมุ่งร้ายที่โจมตีความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ (Information privacy) ที่มีชื่อเรียกทั่วไปว่า สปายแวร์ (Spyware) ประกอบด้วย แอดแวร์ (Adware) พิชชิง (Phishing) คีลอกเกอะ (Keyloggers) (สำหรับแท็คการใช้คีย์บอร์ด) การเปลี่ยนการปรับแต่งระบบ (Configuration Changers) และ แบ็คดอร์ (Backdoors)
2. การเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized access) 
          การใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่มีสิทธิ ซึ่งส่วนมากจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์หรือข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำกิจกรรมบางอย่างที่ผิดกฏระเบียบของกิจการหรือการกระทำที่ผิดกฏหมาย  

3. การขโมย (Theft)

  • การขโมยฮาร์ดแวร์และการทำลายฮาร์ดแวร์มักอยู่รูปของการตัดสายเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • ขโมยซอฟต์แวร์อาจอยู่ในรูปของการขโมยสื่อจัดเก็บซอฟต์แวร์ การลบโปรแกรมโดยตั้งใจ และการทำสำเนาโปรแกรมอย่างผิดกฏหมาย
  • การขโมยสารสนเทศ มักอยู่ในรูปของการขโมยข้อมูลที่เป็นความลับส่วนบุคคล
4. ความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ (System failure)
  • เสียง (Noise)
  • แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Undervoltages)
  • แรงดันไฟฟ้าสูง (Overvoltages) 
การรักษาความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ

1. การรักษาความปลอดภัยการโจมตีระบบเครือข่าย
  • ติดตั้งระบบโปรแกรมที่ป้องกันไวรัส และมีการอัพเดทตลอดเวลา
  • ติดตั้งไฟล์วอลล์ เป็นซอร์แวร์และฮาร์ทแวร์คอยป้องกันไวรัสหรือสิ่งที่ไม่ดีต่างๆไม่ให้เข้าสู่คอมพิวเตอร์
  • ติดตั้งซอร์ฟแวร์ตรวจจับการบุกรุก โดยมีการตรวจสอบ IP adress ของผู้ที่เข้าใช้งานระบบ
  • ติดตั้ง honeypot มีการสร้างระบบไว้ข้างนอก เป็นตัวที่เอาไว้หลอกล่อพวกแฮกเกอร์ที่ต้องการเจาะเข้าระบบ
2. การควบคุมเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต

  • การระบุตัวตน เช่น การใช้ token
  • การพิสูจน์ตัวจริง เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลที่ทราบเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของ ม่านตา เป็นต้น
  • POLP (Principle of least privlege) ให้ข้อมูลเฉพาะที่พนักงานแต่ละคนจำเป็นต้องใช้เท่านั้น
3. การควบคุมการขโมย
  • การควบคุมการเข้าถึงทางกายภาพ เช่น การปิดห้องหรือการปิดหน้าต่าง
  • นำระบบ RTLS มาใช้เพื่อระบุสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง
  • ควบคุมการเปิดปิดเครื่องด้วยลักษณะทางกายภาพ เช่น ลายนิ้วมือ
  • รักษาแผ่นไว้ในสถานที่ที่มีความปลอดภัย
  • ในกรณที่มีโปรแกรมเมอร์ลาออกหรือถูกให้ออก ต้องควบคุมและติดตามโปรแกรมเมอร์ทันที
4. การเข้ารหัส
          คือ กระบวนการในการเเปลงหรือเข้ารหัสข้อมูลที่อยู่ในรูปที่คนทั่วไปสามารถเข้าไป อ่านได้ให้อยู่ในรูปที่เฉพาะคนที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่สามารถอ่านข้อมูลได้ โดยอาจใช้วิธีการเข้ารหัสแบบสลับตำแหน่ง
การเข้ารหัสสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
          - การเข้ารหัสแบบสมมาตร คนที่ส่งและรับข้อมูลใช้คีย์ชุดเดียวกันในการแปลงและถอดรหัสข้อความ
          - การเข้ารหัสแบบไม่สมมาตร ใช้คีย์ 2 ตัว ได้แก่ คีย์สาธารณะและคีย์ส่วนตัว เช่น amazon มีคีย์ข้อ amazon ที่เป็นสาธารณะ และลูกค้าจะมีคีย์ที่เกี่ยวกับบัตรเครดิตที่เป็นส่วนตัว

5. การรักษาความปลอดภัยอื่นๆ
  • Secure sockeets layer(SSL) เป็นเว็บเพจที่ขึ้นต้นด้วย https แทนที่จะเป็น http แบบปกติ
  • Secure HTTP (S-HTTP)
  • Virtual private network (VPN) เป็นเน็ตเวิร์คเสมือนสำหรับผู้ที่มีสิทธิเข้าจึงจะใช้ได้เท่านั้น
6. การควบคุมความล้มเหลวของระบบสารสนเทศ
  • ป้องกันแรงดันไฟฟ้าโดยใช้ surge protector
  • ป้องกันไฟฟ้าดับ ใช้ UPS
  • กรณีระบบสารสนเทศถูกทำลายจนไม่สามารถที่จะให้บริการได้ ต้องจัดทำแผน Disaster Recovery-DR หรือ business continuity planning-BCP
7. การสำรองข้อมูล

  • เลือกสื่อบันทึก (Media) ที่จะทำการสำรองข้อมูล เช่น CD DVD หรือ Portable Harddisk เป็นต้น
  • ระยะเวลาที่ต้องสำรองข้อมูล
  • ความถี่ในการสำรองข้อมูล ขึ้นอยู่กับระยะเวลาสูงสุดที่ระบบจะไม่สามารถให้บริการได้ โดยไม่ส่งผลต่อการดำเนินงานปกติขององค์กร
  • สถานที่จัดเก็บสื่อบันทึกที่สำรองข้อมูล ซึ่งสามารถจัดเก็บ On Site หรือ Offsite ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป
8. การรักษาความปลอดภัยของแลนไร้สาย
  • ควบคุมการเชื่อมโยงเข้าสู่แลนไร้สายด้วย Service Set Identifier (SSID)
  • กลั่นกรองผู้ใช้งานด้วยการกรองหมายเลขการ์ดเน็ตเวิร์ก (MAC Addressing Filtering)
  • การเข้ารหัสและถอดรหัสด้วยวิธีการ Wired Equivalency Privacy (WEP)
  • จำกัดขอบเขตพื้นที่ให้บริการด้วยการควบคุมกำลังส่งของแอ็กเซสพอยน์
  • การพิสูจน์สิทธิเข้าใช้งานแลนไร้สายด้วย Radius Server
  • การสร้าง Virtual Private Network (VPN) บนแลนไร้สาย
จรรยาบรรณ
          คือ หลักปฏิบัติที่แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกผิดชอบเกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย
  • การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
  • การขโมย software
  • ความถูกต้องของสารสนเทศ
  • สิทธิ์ต่อหลักทรัพย์สินทางปัญญา
  • หลักปฏิบัติ
  • ความเป็นส่วนตัวของสารสนเทศ
ศุลี พิเชฐสกุล
5202113014

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

AI613 Class12 lecture summary

Customer Relationship Management

Customer relationship management (CRM) คือ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และบุคลากรอย่างมีหลักการ เพื่อสร้างลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเก่าไว้ ทำให้เกิดการบริการลูกค้าที่ดีขึ้น เช่น การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการ รวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่แต่ละอุตสาหกรรมมีจำนวนคู่แข่งเพิ่มขึ้นสูงมาก ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด CRM เข้ากับเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งานได้ง่าย อีกทั้งยังลดความซับซ้อนที่อาจจะยังไม่ทราบได้ว่าจะเริ่มแก้จากตรงจุดไหน หน้าที่งานของระบบ CRM โดยส่วนใหญ่มักจะเป็น ระบบการบริหารการขาย ระบบการตลาดแบบอัตโนมัติ ระบบรองรับการบริการลูกค้า และระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Call Center)
          เนื่องจากระบบ CRM เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการดำเนินธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาปรับใช้เพื่อใหลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด ดังนั้นการดูแลระบบให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องอาศัยความร่วมมือจาก หลายฝ่าย เช่น ฝ่ายสารสนเทศ หรือผู้ออกแบบ ผู้ใช้และผู้จัดทำเว็บไซต์ขององค์กร

 

เป้าหมายของ CRM
          เป้าหมายของ CRM ไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ และการบริกา รวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ เพื่อ “เปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป”
เช่น Amazon ที่จะเก็บข้อมูลการซื้อของเพื่อนำเสนอสินค้าที่เกี่ยวข้องหรือรายการที่น่าจะดึงดูดความสนใจของลูกค้าในทิศทางเดียวกันได้ ทำให้มีระบบแนะนำสินค้าที่ดีพอ เป็นการสร้างความสนใจและสร้างการตัดสินใจจากตัวเลือกที่มากขึ้นได้

ประโยชน์ ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ
สรุปแล้วคือ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการทำงานหรือดำเนินงานหลักของธุรกิจได้ สนับสนุนการบริหารด้านการตลาดผ่านการบริหารลูกค้าคือ CRM ผ่านฐานข้อมูลที่มีอยู่พร้อม ตัวอย่างที่ดีมากคือ Amazon เก็บข้อมูลลูกค้าแต่ละรายไว้พร้อมที่จะติดต่อได้และสามารถตอบอีเมล์และ ติดต่อลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว เป็นการสร้างความประทับใจ

ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
1. ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
 - ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
 - ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing
 - ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะ ติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2. ระบบ บริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่างๆ
3. ระบบ การตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง
- การขายในระดับเดียวกัน (Cross selling) – ลูกค้าบัตร credit ได้สิทธิพิเศษมากยิ่งขึ้น
- การขายแบบชุด (Bundling) – การขายรวมสินค้าหลายๆอย่าง
Data warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล
เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลละเอียดของ CRM การทำ Data Warehouse ก็เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆภายในบริษัท เช่น บริษัทบัตรเครดิต มีข้อมูลที่แบ่งตามช่วงวัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้จ่ายเงิน รวมทั้งการทำ Data Mining ที่เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลย่อยลงมา นอกจากนี้ การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line analytical processing; OLAP) เช่น บัตรสมาชิกห้างสรรพสินค้า ที่ให้คูปองและส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไปได้
ข้อมูลใน Data Warehouse มาจากทั้ง 2 ทาง คือ จากภายในและภายนอก ดังนี้
1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล
2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น

เครื่องมือที่ช่วยในการใช้ Data warehouse และ CRM
Data mining คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสืบหาข้อมุลที่ต้องการ เพื่อนำมาวิเคราะห์ผลต่อ
ระบบประมวลผลออนไลน์ OLAP : On-line analytic processing

Classification of CRM Applications
  • Customer-facing จุดที่การบริการมีการพบเจอหรือสื่อสารกับลูกค้าโดยตรง ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญมากเพราะเป็นจุดที่สามารถสร้างความประทับใจ เช่น call center, website, help desk เป็นต้น
  • Customer-touching จุดที่สัมผัสกับลูกค้าหรือเกี่ยวข้องกับลูกค้า(จุดที่ลูกค้าปฏิสัมพันธ์กับ application) ปัจจุบันจะสร้างช่องทางให้ลูกค้าบริหารจัดการการสั่งซื้อหรือบริการเอง มากกว่าตอบสนองตามพฤติกรรมของลูกค้ามากขึ้น
  • Customer-centric intelligence วิเคราะห์ข้อมูลทั้งจากข้อมูลเก่าและใหม่ วิเคราะห์ผลการทำงานและดำเนินงานของพนักงานหรือบริษัทในการติดต่อกับลูกค้า เพื่อที่จะปรับปรุงต่อไป เช่น Oracle ความจริงแล้วมีความจำเป็นมากกว่า CRM ปกติเนื่องจากเกี่ยวกับการสร้างรายได้โดยตรง (การตลาด)
  • Online networking เป็นเทรนด์การทำ CRM ใหม่ผ่าน Social Network เป็นการปรับการตลาดตามพฤติกรรมของลูกค้าที่ใช้เว็บไซต์มากขึ้นในปัจจุบัน เช่น Facebook YouTube แสดงวิดีโอในการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือการใช้ ในต่างประเทศมีการใช้ Crowd Sourcing ให้ลูกค้ามาช่วยออกแบบสินค้าใหม่อีกด้วย
Level & type of e-CRM
  • Foundational service – การบริการที่ควรทำขั้นต่ำที่สุด เช่น เว็บไซต์ถือเป็นพื้นฐานของการบริการบนระบบสารสนเทศ ปัจจุบันต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนและมีช่องทางที่ติดต่อกับบริษัทแสดงไว้เป็น อย่างดี
  • Customer centered service – order tracking product, Product customization ให้ลูกค้าได้มีส่วนในการออกแบบและติดตามการใช้บริการได้ด้วยตนเอง เช่น order tracking ในพวก UPS Fedex ซึ่ีงมี product configuration, customization, security และ trust.
  • Value added service – เช่น Dell มี option หลากหลายให้ลุกค้าเลือก customize คอมพิวเตอร์ของตนเองได้ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า
  • Loyalty program การทำให้ลูกค้าเกิดการจดจำและมีการกลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น การมี member card
Tools for Customer Service
  • Personalized web pages used to record purchases & preferences เพื่อรับฟังความเห็นลูกค้าในการปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาสินค้าและบริการต่อไป
  • FAQs commonly used for dealing with repetitive customer questions
  • Email & automated response ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจมากขึ้น เนื่องจากมีการ response กลับมาเร็ว
  • Chat rooms เพื่อสร้างกลุ่มสังคมให้กับกลุ่มลูกค้า
  • Live chat
  • Call centers
Knowledge Management System

          Knowledge Management System (KMS) คือการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร

Knowledge
  • Information that is contextual, relevant & actionable
  • Extraordinary leverage & increasing returns
  • Fragmentation, leakage & the need to refresh
  • Uncertain value
  • Uncertain value of sharing
  • Rooted in time
  • Intellectual capital (intellectual assets) is another term used for knowledge; an implied financial value to knowledge
Data คือ ข้อมูลที่ยังไม่มีความหมาย
Information คือ เอาข้อมูลมาทำให้เป็นสารสนเทศ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
Knowledge คือ การแปลงข้อมูลให้เป็นองค์ความรู้เพื่อให้สามารถนำไปใช้ต่อได้


ประโยชน์ของ KMS

  • เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้ เช่น ในการเข้าไปทำงานใหม่ๆ องค์กรที่ดีจะมีระบบ Training เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ทำให้สามารถถ่ายทอดได้อย่างเป็นขั้นตอน และมีความรวดเร็วกว่า
  • ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ เนื่องจากรู้ระบบที่ผิดแล้วมีองค์ความรู้ในการทำให้ระบบมันถูกแล้ว
  • ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร เช่น การที่พนักงานมีการเปลี่ยนงาน ไม่ว่าจะลาออก หรือว่ามีการเกษียณ การที่มีการสร้างระบบที่ดีก็จะสามารถรักษาองค์ความรู้ไว้ภายในองค์ได้ ไม่ทำให้ความรู้สูญหายไป
  • ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง กล่าวคือ การที่องค์กรมีองค์ความรู้เยอะๆก็จะทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง
วิธีสร้าง KMS
  • สร้าง Knowledge Base ขององกรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (learn faster) ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่มุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมและองกรค์ความรู้ใหม่ในการ ปฏิบัติงานเพิ่ม value ให้ธุรกิจ
  • สร้าง Knowledge Network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในปัจจุบัน มีแทรนด์ใหม่คือการใช้ social network เช่น facebook แต่ปัญหาก็คือ ไม่ได้มีคนใช้ทุกวันทำให้การพัฒนาที่สร้างขึ้นมาไม่ได้มีประโยชน์เท่าที่ควร
ลำดับขั้นตอนของความรู้
  1. Data
  2. Information
  3. Knowledge
  4. Expertise
  5. Capability

การสร้างความรู้
  • Socialization คือ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งจะทำให้เกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน เช่น รุ่นพี่สอนรุ่นน้อง ครูสอนนักเรียน หัวหน้าสอนลูกน้อง เป็นต้น ซึ่งการถ่ายทอดอาจจะออกมาเป็นคำพูด การกระทำหรือการปฎิบัติก็ได้
  • Externalization คือ การสกัดความรู้ออกจากตัวบุคคล โดยสกัดเอาความรู้แบบ Tacit ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล มาเก็บอยู่ในรูป Explicit ซึ่งอยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสาร เพื่อแบ่งปันกันต่อไปให้เป็น Group knowledge กระจายๆออกไป อาจเรียกว่า crystallized
  • Combination คือ การถ่ายทอดความรู้จาก Explicit สู่ Explicit โดยการนำความรู้ที่ได้รวบรวมความรู้ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มา นำมาสร้างเป็นความรู้ใหม่ โดยต่อยอดความรู้เดิม
  • Internalization คือ การนำความรู้ที่ได้รับจากสื่อต่างๆ จากแหล่งต่างๆ ทั้งจากที่ได้การผนวกความรู้โดยการศึกษาเพิ่มเติมหรือต่อยอดความรู้ มาผนึกเป็นองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริงจนเกิดเป็นประสบการณ์ ความชำนาญ ทักษะ หรือพัฒนาความรู้ใหม่ที่อยู่ในตัวบุคคลนั้นๆ เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เช่นการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การคิดค้นวิธีการใหม่เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นต้น
กระบวนการจัดการความรู้
  • การระบุถึงความรู้ (Knowledge Identification)
  • การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition)
  • การพัฒนาความรู้ (Knowledge Development)
  • การแบ่งปัน/กระจายความรู้ (Knowledge Sharing/Distribution)
  • การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
  • การเก็บ/จดความรู้ (Knowledge Retention) 
ศุลี พิเชฐสกุล
5202113014

AI613 Class11 lecture summary


Business Intelligence and Strategic Information System Planning

Business Intelligence (Cont'd)


Web mining
เป็นการ mining ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ ซึ่งทำให้สามารถติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้งานในเว็บไซต์ต่างๆได้ ช่วยทำให้วิเคราะห์ความต้องการหรือได้ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานได้ ซึ่งเราสามารถติดตามรูปแบบการใช้งานเหมือนการแกะรอยเท้าซึ่งในที่นี้เราเรียกว่า “Clickstream”

  • Web content mining : ดูจากระยะเวลาที่ผู้ใช้งานใช้
  • Web structure mining : ดูจากว่าผู้ใช้งานเข้าผ่านทาง URL หรือทาง Link โดยการที่ลูกค้ามักเข้าเว็บผ่านลิงค์อื่นๆ อาจทำให้บริษัททราบว่าลูกค้าจำ URL ของบริษัทไม่ได้ หรือไม่เกิด Brand Recognition หรือตรวจนับจำนวนผู้ใช้เพื่อบอกได้ว่าโฆษณาหรือ banner ในเว็บอื่นได้ผลจริง
  • Web usage mining : ดูข้อมูลการใช้งานของ visitor ซึ่งเกิดจากการเก็บข้อมูลจำนวนลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บและทำ transaction ผ่านเว็บทำให้รู้พฤติกรรมการของลูกค้าได้
Strategic Infomation System Planning

          IS/IT Planning คือการวางแผนขององค์กรในด้านโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี (IT Infrastructure) และระบบโปรแกรม (Application Portfolio) ในทุกๆระดับขององค์กร โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อทำให้วัตถุประสงค์หลักขององค์กรและความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความร่วมมือของบุคลากรจากทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ 
 
Four-stage model of IS/IT planning
          เป็นพื้นฐานในการพัฒนา portfolio of application โดยเป็นการทำให้สอดคล้องกันระหว่าง เป้าหมายของบริษัท กับ การสร้างความได้เปรียบจากคู่แข่ง โดยประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่
1. Strategic Planning กำหนดกลยุทธ์ โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างแผนกลยุทธ์ขององค์กรกับ IT
  • Set IS Mission
  • Access Environment ประเมินสิ่งที่มีอยู่ว่าดีเพียงพอหรือควรจะไม่นำไปใช้ต่อในอนาคต
  • Access Organizational Objectives Strategies ทบทวนแผนกลยุทธ์ขององค์กรว่าเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันเพียงใด ใครเป็นคนรับผิดชอบหน้าที่นั้นๆ
  • Set IS Policies, Objectives, Strategies พิจารณาว่า IS อยู่ในส่วนใดบ้างเพื่อพิจารณาความสำคัญของ IS ที่ควรจะมีต่อไป
2. Organizational Information Requirements Analysis กำหนดระบบสารสนเทศที่ต้องใช้ในการดำเนินกลยุทธ์
  • Access Organization’s Information Requirements วิเคราะห์ความต้องการในสารสนเทศขององค์กรในปัจจุบัน ในอนาคต อาจทำโดยการสังเกต สัมภาษณ์ และการ Review เป็นต้น
  • Assemble Master Development Plan กำหนดระบบสารสนเทศทั้งหมดที่ต้องการ
3. Resource Allocation planning จัดสรรทรัพยากร
  • ประเมินทรัพยากรที่ต้องใช้ในการสร้าง IS แล้วจะทราบถึงต้นทุนและกระแสเงินที่ต้องใช้ใน Infrastructure หรือ Application
4. Project Planning
  • พิจารณาแผนงานในด้านความคุ้มค่าของการนำระบบสารสนเทศมาใช้งานประมาณการต้นทุนและกำหนดระยะเวลาของงาน
Methodology to facilitate IT planning

The Business Systems Planning (BSP)
           พัฒนาโดย IBM ซึ่งใช้ทั้งวิธี top-down และ bottom-up ในการวางแผน IS โดยเริ่มจากกำหนด Business process และ Data classes แล้วจะทำให้ทราบว่าควรจะมี information architecture อย่างไร แล้วองค์กรควรจะมี databases แบบไหน จำได้หา Application มา รองรับ และนำไปสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กรได้ อย่างไรก็ตามข้อเสียของวิธีนี้คือใช้เวลามาก มีการสร้างข้อมูลจำนวนมากทำให้เสียต้นทุนในการจัดเก็บ และสนใจกับปัจจุบันมากกว่าอนาคต
 

Critical Success Factors (CSF)
           เน้นเรื่องหลักๆ ที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือการอยู่รอดขององค์กร ซึ่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงในองค์กร โดยใช้ CSF ในการ 

1. กำหนด Priority ของ IS 
2. กำหนด database 
3. กำหนด DSS 
ข้อดีคือ ผลิตข้อมูลจำนวนน้อยกว่าในการวิเคราะห์ มีการคำนึงถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่าองค์กรจะจัดการกับข้อมูลอย่างไร 
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลได้มาจากการสัมภาษณ์ ทำให้มีข้อเสียคืิอ ขั้นตอนและการวิเคราะห์จะอยู่ในรูปของ art form เกิดความสับสนได้บ่อยของผู้ให้สัมภาษณ์ระหว่าง CSF ของตนเองกับขององค์กร และไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบของสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป


ศุลี พิเชฐสกุล
5202113014

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

AI613 Class10 lecture summary

Enterprise System, Supply Chain Management and Enterprise Resource Planning


          ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ การเชื่อมโยงของกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าของแต่ละแผนก มักจะมีปัญหาเรื่องการสูญเปล่าและการขาดประสิทธิภาพ อีกทั้งการใช้เวลาระหว่างกิจกรรมที่ยาวเกินไป ทำให้ผลผลิตต่ำลง เกิดความยากลำบากในการรับรู้สถานภาพการทำงานของแผนกต่างๆ ได้ ทำให้การตัดสินใจในการลงทุนและบริหารทรัพยากรต่างๆ ทำได้ยากขึ้น การบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรไม่สามารถทำได้
          การที่แต่ล่ะแผนกมีระบบการทำงานที่แยกออกจากกัน ทำให้ระบบการทำงานของบริษัทไม่มีความสอดคล้องกัน ทำให้ต้องเสียเวลาที่เพิ่มมากขึ้นในการส่งต่อข้อมูล และทำให้เกิดปัญหาการกระจัดกระจายของข้อมูล ด้วยเหตุนี้ Enterprise Systems จึงเกิดขึ้น

Enterprise System
บริษัทจำเป็นพัฒนาระบบ สารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้จริงในองค์กร รวมทั้งพิจารณาด้านการลงทุน ความคุ้มค่า เป็นต้น Functional Information System เป็นระบบพื้นฐานที่สุด ซึ่งระบบสารสนเทศของแต่ละบริษัทนั้นหน่วยงานสามารถพัฒนาขึ้นเอง ซื้อ หรือเช่ามาก็ได้ ซึ่งแต่ละแผนกอาจมีระบบสารสนเทศที่แยกออกจากกันได้ เนื่องจากมีรูปแบบการทำงาน การใช้งาน ลักษณะการตัดสินใจและอำนาจที่แตกต่างกันออกไป แต่หากมีระบบแยกกันก็จะทำให้มีข้อเสียคือ การมีฐานข้อมูลที่แยกกัน ทำให้เสียค่าดูแลรักษาและหากไม่มีการออกแบบที่ดี การประสานกันระหว่างระบบของแต่ละแผนกอาจไม่เข้ากันก็ได้
การมีระบบสารสนเทศแบบ Enterprise System ที่ดี จะสามารถรวมทุกกิจกรรมที่สำคัญของธุรกิจ (Key Process) และช่วยในการทำงานในทุกๆขั้นตอนในในห่วงโซ่ของมูลค่า (Value Chain) อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นได้ ระบบของ Enterprise system ได้แก่
  • Enterprise System (ERP) : ระบบจัดการบริหารงานภายในขององค์กร เช่น Oracle หรือ SAP ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปยังลูกค้าและผู้ขายได้ด้วย
  • Customer Relationship Management (CRM) : บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
  • Knowledge Management Systems (KM) : บริหารงานภายในเพื่อพัฒนา องค์ความรู้ภายในองค์กร เช่น K-Business
  • Supply Chain Management (SCM) : บริหาร Supply Chain ตั้งแต่ผู้ผลิตแรกจนถึงลูกค้า
  • Decision Support Systems (DSS) : ช่วยในการตัดสินใจภายใน องค์กรแก่ผู้บริหาร เช่น ระบบส่งรถโดยคำนวณการใช้น้ำมัน การเดินทาง เพื่อให้ประหยัดน้ำมันมากที่สุด
  • Business Intelligence (BI) : การบริหารความรู้ภายในองค์กร เช่น จัดการอบรม มีการรวบรวมจากอีเมล์หรือการสื่อสารระหว่างบุคคลกันเอง
Supply Chain Management

การรวบรวมการวางแผนและการจัดการของกิจกรรมทั้งหมด ที่ไม่ใช่อยู่แค่การบริหารงานภายในองค์กร แต่ต้องรวมไปถึงให้ระบบเชื่อมต่อกับภายนอกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การขนส่ง เป็นต้น รวมถึงการประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทาน ทำให้เกิดการบูรณาการ ทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทานซึ่งรวมถึงทั้งภายในและภายนอกบริษัทเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงสุด
  • Warehouse Management System (WMS) บริหารสินค้าในคลัง เช่น จำนวน ที่วางสินค้า การเข้าออกของสินค้า ควบคุมความปลอดภัย
  • Inventory Management System (IMS) การบริหารสินค้าคงคลังเพื่อวางแผนการสต๊อกในจำนวนที่ต่ำที่สุด เช่น EOQ ขนาดสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด หรือ ระบบ Just-in-time ที่ไม่มีการคง Inventory ไว้เลย
  • Fleet Management system ระบบการบริหารการส่งของ เพื่อให้ทราบอย่างรวดเร็ว และสามารถเช็คได้ว่ามีการส่งของในแต่ละที่เท่าไหร่ โดยใช้ RFID ตรวจสอบการส่งของจริงอีกครั้ง เช่น ส่งของภาคเหนือ อาจแวะส่งของที่แต่ละจังหวัดก่อน ต้องเช็คการส่งในแต่ละจังหวัดด้วยว่าลงอะไร เท่าไหร่ ส่งข้อมูลกลับไปที่สำนักงานใหญ่
  • Vehicle Routing and Planning คำนวณเส้นทางเดินรถขนส่ง เพื่อประหยัดน้ำมัน
  • Vehicle Based System บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ระบบ GPS ตรวจจับความเร็ว ระบุสถานที่
แนวโน้ม IT สำหรับ Supply Chain Management

1. Connectivity การเชื่อมต่อของข้อมูล สามารถทำผ่านเครื่องมือต่างๆเช่น wireless, bluetooth, GPRS
2. Advanced Wireless Voice & GPS ผ่านการใช้เสียงและ GPS เป็นการใช้งานได้มากขึ้นของเครื่องมือการสื่อสาร (Smart Phone) หรือ Tablet
3. Speech Recognition การสั่งงานด้วยเสียง เช่น Intermec บริษัทผลิตปริ้นเตอร์และพัฒนาสินค้าที่สามารถสั่งงานด้วยเสียง ทำให้การใช้งานง่ายขึ้น
4. Digital Imaging การประมวลผลภาพดิจิตอล บริษัทขนส่งและกระจายสินค้า ใช้กล้องดิจิตอลเชื่อมรวมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพา ดังนั้นพนักงานขับรถสามารถบันทึกข้อมูลการจัดส่ง จัดเก็บใบเสร็จที่ประทับตรา และรายละเอียดของเงื่อนไขที่ใช้ในการป้องกันการส่งสินค้า เช่น ดิจิตอลคาเมรา สมาร์ทโฟนในการถ่ายรูป ทำให้อาจมีการทำใบเสร็จออนไลน์ได้เลย ออกเป็นภาพดิจิตอล ส่งเข้าองค์กรได้สะดวกมากขึ้น
5. Portable Printing สามารถทำเป็นใบเสร็จและ ติดต่อกลับเข้าที่สำนักงานใหญ่ได้ทันที เช่น ธุรกิจประกัน (ในต่างประเทศ) โดยสามารถอัพเดทข้อมูลเข้าฐานข้อมูลได้ทันที
6. 2D & other barcoding advances บาร์โค้ด 2 มิติจะสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรได้ดีกว่าแบบอื่น
7. RFID ชิปฝังอยู่ในบัตรหรือแถบ สินค้า บัตรทางด่วน กล่องสินค้า สามารถสแกนอ่านข้อมูลได้ว่ามีสินค้าอยู่จำนวนเท่าไหร่ มาจากที่ใด เป็น เทคโนโลยีสำคัญของระบบการบริการห่วงโซ่
8. Real Time Location System RTLS ระบบแสดงตำแหน่งเวลาจริง ใช้ร่วมกับ RFID ทำให้องค์กรสามารถขยาย เครือข่าย ป้องกันการโจรกรรมได้
9. Remote Management การจัดการทางไกล การใช้ระบบแลนไร้สายเพื่อติดตามสินทรัพย์ของคลังสินค้าและโรงงาน เป็นตัวอย่างของการปรับใช้ทรัพยากรไอทีให้เป็นประโยชน์กับสภาพแวดล้อม อุตสาหกรรม อีกตัวอย่างคือระบบการจัดการระยะไกลประสิทธิภาพสูงได้รับการพัฒนาเฉพาะเพื่อ กำหนดค่า ตรวจสอบ และแก้ไขปัญหาเครื่องอ่านและเครื่องพิมพ์บาร์โค้ด อุปกรณ์อาร์เอฟไอดี คอมพิวเตอร์ที่ทนทาน และอุปกรณ์การเก็บและสื่อสารข้อมูลอุตสาหกรรมอื่น
10. Security ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นเป็นแนวโน้มและความต้องการของธุรกิจที่กำลังได้รับ ความนิยมในการนำมาใช้เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีซัพพลายเชน โดยคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่จะถูกล็อคไม่ให้มีการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าและข้อมูล อื่นๆ ได้ในกรณีที่อุปกรณ์หายหรือถูกขโมย คอมพิวเตอร์ไร้สายที่ทนทานและอุปกรณ์เก็บรวบรวมข้อมูลยังสนับสนุนความ ปลอดภัยชั้นนำหลายอย่าง ที่สอดคล้องกับระบบป้องกันเครือข่ายไร้สายองค์กร
Supply Chain Management and Its Business Value
จากการที่ทุกหน่วยงานมีการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูล ร่วมกัน เช่น Wal-Mart ให้คู่ค้าสามารถเข้าดูข้อมูลสินค้าของคนเองที่อยู่ Wal-Mart ได้ เพื่อความสะดวกในการรับส่งสินค้า ซึ่งเป็นการ Collaborative Planning ผ่านการออกแบบการส่งข้อมูล และสินค้าร่วมกัน สามารถประหยัดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่จะเป็น รวมทั้งผ่านการจัดการ Vendor Managed Inventory (VMI) ระหว่างคู่ค้าด้วยกันเองด้วย

ERP System Vendors
เช่น SAP, Oracle เวลาบริษัทซื้อโปรแกรม ERP ซื้อเป็น Module โดยจะซื้อเพื่อนำมาปรับใช้กับส่วนที่สำคัญๆเท่านั้น และจะไม่ซื้อทั้งหมด เพราะ
1. ราคาของระบบเหล่านี้สูงมาก
2. ปกติองค์กรจะมีระบบ สารสนเทศอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเอาระบบใหม่มาลงพนักงานก็ต้องใช้ทั้ง 2 ระบบ
3. ต้องมีการ Customize ปรับปรุงให้เข้ากับลักษณะ การทำงานขององค์กร
Major ERP Modules
  • Sales and Distribution (Records customer orders, shipping, billing, connections, based on SAP)
  • Material Management
  • Financial Accounting
  • Human Resources (Recruiting, payroll)
  • Third-Party (CRM, Customer Self-Service, Sales Force Automation)
________________________________________________________________________
Presentation
Augmented Reality
           เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนารูปแบบ Human-Machine Interface ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยที่วัตถุเสมือนนั้นๆ จะถูกสร้างมาผสมกับสภาพในโลกจริงในรูป 3D และแสดงผล แบบ real time โดย AR สามารถใช้งานผ่านทางอุปกรณ์ Web-cam กล้องมือถือ Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็น object (คน,สัตว์,สิ่ง ของ,สัตว์ประหลาด,ยานอวกาศ) ในรูป 3 มิติ ซึ่งมีมุมมองถึง 360 องศากันเลยทีเดียว ฉะนั้นเทคโนโลยี AR นี้ จะสามารถทำให้ผู้ใช้เห็นภาพเสมือนจิงได้รอบด้าน 360 องศา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเดินไปสถานที่จริงเลยแม้แต่น้อย 


Mobile Operating System

           เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป มีหน้าที่หลัก ๆ คือ จัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อรองรับซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการมือถือหลักๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แก่

1. Symbian OS (Nokia)
เป็นระบบปฏิบัติการ mobile OS ที่รองรับเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย และออกมาแบบขึ้นมาเพื่อใช้บนโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลักในการรับ- ส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก มีความปลอดภัยสูง ปัจจุบัน Symbian OS เป็น Open source เต็มตัว โดยเปิดโอกาสให้นักพัฒนา software สามารถที่สนใจ พัฒนาโปรแกรมต่างๆบน Symbian OS ได้ มี User Interface เรียบง่าย ใช้งานง่าย มีฟังก์ชั่นการใช่งานพื้นฐานที่ครบครัน ติดตั้ง application รวม ทั้งไฟล์ภาพ เสียง ภาพยนต์ หรือเพลง ได้อย่างสะดวก มีการจัดสรรทรัพยากรหน่วยความจำในเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาให้รองรับการสั่งงานแบบ multitask เหมือน iPhone เหมาะกับผู้ที่ใช้งาน function โทรศัพท์ แบบพื้นฐานเป็นหลัก และชื่นชอบความสะดวกสบายในการติดตั้งโปรแกรมหรือลงเพลงต่างๆ รวมถึงผู้ที่ต้องการระบบปฏิบัติการที่รองรับการใช้งานหลากหลาย
2. BlackBerry OS (RIM OS)
เป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่มุ่งเน้นให้มีการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และการพัฒนาในช่วงแรกนั้น ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในธุรกิจ เน้นการใช้งานด้าน E-mail เป็นหลัก โดยรองรับการใช้งาน Push mail เมื่อมี e-mail เข้ามาสู่ระบบ Server จะทำการส่ง ต่อมายัง BlackBerry โดยจะมีการเตือนสถานะที่หน้าจอ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลในทันที ทั้งนี้ระบบ e-mail ของ BlackBerry จะมีความปลอดภัยสูงด้วย การเข้ารหัสข้อมูล ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ระบบปฏิบัติการ BlackBerry พัฒนาในส่วนของการสนับสนุน multimedia ต่างๆ มากขึ้น
มีระบบการ Chat ผ่าน BlackBerry Messenger ซึ่งจะทำหน้าที่พิมพ์ข้อความสนทนากับผู้ที่ใช้ BlackBerry เหมือนกันแบบ real-time และสามารถ เชื่อมต่อกับ internet พร้อมกับมีการเปิดให้รับ-ส่งข้อมูลกับเครือข่ายมือถือตลอดเวลา ทำให้เหมาะกับผู้ที่ต้องติดต่องานต่างๆ ผ่าน e-mail รวม ถึงเหมาะกับวัยรุ่นที่ชื่นชอบการ chat กับกลุ่ม เพื่อน
3. iPhone OS
iOS ในชื่อเดิม iPhone OS เป็นระบบปฏิบัติการที่สามารถเชื่อมต่อไปยังแอปสตอร์ สำหรับเข้าถึงแอปพลิเคชั่น มากกว่า 225,000 ตัว เวอร์ชั่นของ iOS บนไอโฟนนั้น เริ่มตั้งแต่เวอร์ชั่น 1.0 แล้วก็มีหลายเวอร์ชั่น ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของผู้ใช้ และเพื่อแข่งขันกับบริษัทโทรศัพท์มือถืออีกหลายบริษัท โดยเวอร์ชั่นปัจจุบันของ iOS คือ 4.0.2 (เวอร์ชั่นที่สามารถใช้ได้จริง) ระบบปฏิบัติการจากไอโฟน มีรูปแบบการใช้งานที่ง่าย และแฝงไปด้วยลูกเล่นมากมาย มีความสามารถที่โดดเด่นของระบบ Multitouch และมีจุดเด่นที่ความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการ ดูหนัง ฟังเพลง ผนวกเข้ากับแอพลิเคชั่น และ เกมต่างๆ อีกมากมายบนแอพสโตร์ นอกจากนั้นยังรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถใช้อินเตอร์เน็ต เช็คอีเมล์ หรือเข้าสู่เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter ได้อย่างสะดวก ถึงอย่างไรก็ดี iOS มี ข้อเสียคือ ยังไม่รองรับ แฟลช ทำให้แสดงผลแฟลชเว็บไซต์ได้ไม่เต็มที่ และด้วยความที่เป็นระบบปิด การติดตั้งโปรแกรมหรือลงไฟล์สื่อต่างๆ จะต้องผ่านโปรแกรม iTunes ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สะดวกสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
4. Windows Phone / Windows Mobile OS
Windows Phone นั้นประกอบไปด้วย Application และซอฟต์แวร์ต่างๆของ Microsoft สำหรับมือถือในการใช้งานทั่วไป เช่น Internet Explorer Mobile สำหรับเข้าชมเว็บไซต์ หรือซอฟต์แวร์สำหรับการทำงานเช่น Microsoft Office Mobile ช่วยให้ชีวิตของผู้ใช้ง่ายขึ้นแม้ไม่อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ เช็คอีเมล ติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวผ่านระบบ IM หรือ แม้แต่โทรติดต่อกัน นอกจากนั้นยังช่วยให้เรียกใช้Application ต่างๆตั้งแต่ Office Word, Excel, PowerPoint หรือ OneNote ได้อีกด้วย ถึงอย่างไรก็ดี Windows Phone ยังไม่เป็น Open source เนื่องจากติด เรื่องลิขสิทธิ์ ทำให้การพัฒนาต่อยอดเป็นไปได้ ยากกว่า OS ที่เป็น Open source ระบบนี้มีจุดเด่น คือ
- ง่ายต่อการใช้งาน และสามารถ synchronize เข้ากับ PC ได้อย่างดี ทำให้สามารถทำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
- บริหารจัดการ Global Positioning System (GPS) ในตัว
- รองรับการใส่ภาพใน Caller ID ในตัว
- รองรับความสามารถ “push” ร่วมกับ Microsoft Exchange Server ทำให้อีเมล์หรือข้อมูลใหม่ส่งมาที่ เครื่องทันที โดยไม่ต้องคอยตรวจสอบทางเซิร์ฟเวอร์ว่ามีข้อมูลใหม่มาหรือไม่
- บริหารจัดการและรองรับบลูทู ธในตัว
- เพิ่มความสามารถ Error-Reporting สำหรับส่งรายละเอียดข้อผิดพลาดไปยังผู้พัฒนาในกรณีที่มี ข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
5. Android
เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุนและพัฒนาจาก Google โดยมีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ Linux โดย มีการพัฒนาต่อยอด พร้อมทั้งเปิดเผย Source Code เป็น แบบ Open Source เพื่อให้นักโปรแกรมเมอร์ภายนอกสามารถปรับปรุงพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้ Android มีแนวคิดที่จะนำคุณสมบัติ ของโทรศัพท์มือถือ รวมเข้ากับบริการต่างๆ ของ Google ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานแก่ผู้ใช้ และยังถูกออกแบบให้มีความสามารถใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ขนาดย่อม โดยยังคงเรื่องความคล่องตัวในการใช้งานค่อนข้างมาก
ด้วยความที่ Android เป็นระบบปฏิบัติการจาก Google จึงรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ เพื่อใช้บริการจากกูเกิ้ลได้อย่างเต็มที่ ทั้ง Search Engine, Gmail, Google Calendar, Google Docs และ Google Maps เป็นต้น นอกจากนี้ Android ยัง เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open Source ซึ่งทำให้ซอฟท์แวร์ของทางแอนดรอยด์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จนถึงตอนนี้ก็มีโปรแกรมต่างๆ กว่า 20,000 โปรแกรม ให้ได้เลือกใช้งาน ระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์จึง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้งานบริการต่างๆ จากทางกูเกิ้ล รวมทั้งต้องการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา แต่ยังไม่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานระดับเริ่มต้นเพราะวิธีแก้ปัญหาทางเทคนิคของ แอนดรอยด์นั้นยังไม่แพร่หลายเท่าใดนัก
ความสำเร็จ  
          จากการสำรวจ ตลาด Mobile OS ของ IDC พบ ว่า ในปี 2010 Symbian จะยังคง Market Share อันดับหนึ่ง ตามมาด้วย BlackBerry OS และ Android ที่มี Market Share ใกล้เคียงกัน แต่แนวโน้มในอนาคตคาดว่า Android จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก แนวโน้มในอนาคตของตลาดโทรศัพท์มือถือนั้นมีแนวโน้มที่จะนิยม OS ในรูปแบบ Open source มากกว่า ซึ่งก็ตรงกับลักษณะของ Android และ Symbian ในขณะที่ OS ที่เป็น Single source อย่าง IOS (Apple) กับ RIM (BlackBerry) นั้น แม้ว่ายอดขายโทรศัพท์มือถือของ Apple กับ BlackBerry จะเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง แต่ส่วนแบ่งการตลาดในอนาคต RIM และ IOS อาจจะไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากนัก โดยคาดว่าจะครองส่วนแบ่งทางการตลาด OS รองจาก Symbian และ Android


Video Telepresence

           คือ เทคโนโลยีที่พัฒนามาจากระบบวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นในปีค.ศ.1960 และ เริ่มใช้งานจริงในปีค.ศ.1980 ซึ่งโดยหลักการแล้ว เทเลพรีเซ็นส์ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกับวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ แต่มีความต่างขององค์ประกอบของระบบที่ชัดเจน 3 ด้าน คือ network technologies, conference hardware, conference software ซึ่ง เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ากว่าทำให้เทเลพรีเซ็นส์ให้ภาพที่สมจริงกว่า อรรถประโยชน์ที่สูงกว่า และการติดตั้งต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการใช้งานที่เหนือกว่าวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์

Service-Oriented Architecture
            SOA (Service-Oriented Architecture) หมายถึง สถาปัตยกรรมเชิงบริการ เป็นแนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะ ที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ ต้องการซึ่งเป็นองค์ ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่าง ยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability)


การอธิบายแนวคิด SOA สามารถแบ่งได้ เป็น 2 คำ คือ Service-Oriented และ Architecture

- Service-Oriented เป็น Software ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์แพ็ค เกจ แต่เป็นซอฟต์แวร์ตัวเล็ก ทำงานเฉพาะด้าน ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งเป็นบริการอะไรบ้าง
- Architecture คือ การออกแบบ โดยจะมององค์กรโดยรวมว่าต้องการบริการอะไรบ้าง ก็จะแบ่งบริการนั้นๆออกเป็นส่วนย่อยๆ

ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOA คือ web service แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะ web service เป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร

ปัจจุบัน SOA (Service-Oriented Architecture) เป็น หลักการการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่มีการพูดถึงกันมาก โดยหลายๆ องค์กรพยายามที่จะออกแบบระบบทางด้านไอทีให้เข้าสู่ระบบ SOA แต่เนื่องจาก SOA เป็นหลักการในการออกแบบ ดังนั้นการทำความเข้าใจและนำไปพัฒนาให้ใช้งานได้จริงนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยาก จนเมื่อเว็บเซอร์วิส (Web Service) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาตามหลักการของ SOA เกิดขึ้นมา จึงทำให้แนวคิด SOA ได้รับ ความนิยมขึ้นมาอย่างมาก จนบางครั้งทำให้หลายๆ คนคิดว่า SOA และ web service เป็นเรื่องเดียวกัน แต่จริงๆ แล้ว SOA เป็นแนวคิดหรือรูปแบบในการออกแบบการให้บริการ ส่วนเว็บเซอร์วิสเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาตามหลักการของ SOA เท่านั้น ทั้งนี้อาจใช้แนวทางอื่นในการพัฒนาระบบ SOA ก็ได้ เช่นการใช้ CORBA (Common Object Request Broker Architecture) หรือ Java RMI (Remote Method Invocation


ศุลี พิเชฐสกุล

5202113014

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

AI613 Class9 lecture summary

Data Management II & Business Intelligence

ประโยชน์ที่สำคัญของ Data Warehouse

1.เข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วเนื่องจากมีข้อมูลที่จัดเรียงแล้วรวมกันอยู่ที่เดียว ซึ่งสามารถเข้าใช้ผ่านช่องทางต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็น VPN Web browser  LAN เป็นต้น

2.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ทำให้สะดวกรวดเร็วในการค้นหาข้อมูลต่างๆ ทำให้องค์กรได้เปรียบเชิงแข่งขัน

สาเหตุของ Data Inconsistency

Data Inconsistency คือ ข้อมูลชุดเดียวกัน เช่น ข้อมูลวันเดือนปี แต่กลับมีค่าที่ต่างกัน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจาก
1.format ต่างกัน เช่น ปีพ.ศ. กับปีค.ศ. หรือ ดด/วว/ปป กับ วว/ดด/ปป เป็นต้น
2.ข้อมูล update ไม่เท่ากัน เช่น พนักงานขายลาออกแล้ว ในแฟ้มข้อมูลพนักงานลบข้อมูลออกแล้ว แต่ชื่อของคนนี้ยังอยู่ในแฟ้มของรายชื่อพนักงานขายเป็นต้น ซึ่งรายชื่อพนักงานขายอัพเดทช้ากว่า



Data Warehouse Process
1.Collect Data both from External data and Operational Data
2.Data Staging : Extract, Clean, Transform and Load .AKA “ETCL” คัดกรองเฉพาะข้อมูลที่ต้องใช้จาก Database เก็บข้อมูลไว้ใน Data Cube

Data Mart

คือ ส่วนย่อยของ Data Warehouse โดยจะมีลักษณะเป็นคลังข้อมูลขนาดเล็กที่เก็บข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง โดย Data Mart จะมีประโยชน์ที่เด่นชัดคือ การจัดทำคลังข้อมูลจะใช้เวลาสั้น และการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงวิเคราะห์ เพื่อการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งตามมุมมองที่ผู้ใช้ต้องการ

Types of Data Mart

1.Replicated data mart : คือกลุ่มย่อยขนาดเล็กของ Data Warehouse ซึ่งก็คือการคัดลอกกลุ่มย่อยบางกลุ่มในคลังข้อมูล มาไว้ในตลาดข้อมูลเล็กๆ หลายๆ อัน ซึ่งในแต่ละอันจะใช้ตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะส่วนที่แน่นอน หนึ่ง ๆ เท่านั้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลายหลายของแต่ละหน่วยงานในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
2.Stand-alone data mart : เกิดขึ้นกับองค์กรที่ยังไม่พร้อมที่จะสร้าง Data Warehouseขององค์กร จึงสร้างเฉพาะ data mart ในส่วนที่พร้อมเป็นอิสระออกจากกัน เช่น สร้าง Data Mart เฉพาะในฝ่ายการตลาดและบัญชี

The Data Cube

“Multidimensional Databases” (AKA OLAP) : เป็น database ที่มีการจัดเรียงข้อมูลตามมิติต่างๆ เพื่อความสะดวกการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยจะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น
1.Slices and Dices : การดูข้อมูลที่แบ่งออกเป็นมิติต่าง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับ Wine ทั้งในแง่ของราคา ฐานลูกค้าในแต่ละระยะเวลา
2.Rollups : ดูข้อมูลที่เป็นรายละเอียด ไปยังข้อมูลที่เป็นภาพรวม เพื่อความสะดวกในการเปรียบเทียบ และวิเคราะห์แนวโน้ม
3.Drill Downs : ดูข้อมูลสรุปแบบเจาะลึก โดยเริ่มจากภาพกว้างแล้วเจาะลงไปในแต่ละเรื่องย่อย เพื่อศึกษาในรายละเอียด


Business Intelligence (BI) : เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการทำ Online Analytical Process (OLAP) โดยรวมเครื่องมือในการทำงานต่างๆและ database เพื่อทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูล จัดการข้อมูลได้อย่าง interactive รวมถึงช่วยให้ผู้บริหารและนักวิเคราะห์สามารถวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้อย่าง ดียิ่งขึ้น


Dashboard & Scorecards

Dashboard : innovate ในการนำข้อมูลไปสู่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการประเมิน performance ตาม balance scorecard ทั้ง 4 ด้าน คือ Financial , Customer ,Internal Process และ Learning and Growth

Data Mining 

คือ การหารูปแบบะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล ที่มองผิวเผินแล้วไม่อาจสังเกตเห็นได้ เนื่องจากข้อมูลมีปริมาณมาก โดยการสกัดข้อมูลที่จำเป็น/มีประโยชน์ออกมาจากข้อมูลทั้งหมด เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ

เทคนิคในการทำ Data mining
1.Clustering :
เป็นเทคนิคการลดขนาดของข้อมูลด้วยการรวมกลุ่มตัวแปรที่มีลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกัน โดยมีเกณฑ์แบ่งตัวแปรนั้นออกเป็นกลุ่ม เช่น เพศ รายได้
2.Classification : เป็นกระบวนการสร้าง model จัดการข้อมูลให้อยู่ในกลุ่มที่กำหนดมาให้ ตัวอย่างเช่น จัดกลุ่มนักเรียนว่า ดีมาก ดี ปานกลาง ไม่ดี โดยพิจารณาจากประวัติและผลการรียน หรือแบ่งประเภทของลูกค้าว่าเชื่อถือได้หรือไม่ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่ง model ที่สร้างนั้น จะเป็นตัวกรองข้อมูลต่างๆออกเป็นกลุ่มๆที่มีลักษณะแตกต่างกัน
3.Association :
เป็นการค้นหาความสัมพันธ์ของข้อมูลจากข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีอยู่ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่างๆ หรือมากจากการวิเคราะห์การซื้อสินค้าของลูกค้าเรียกว่า “Market Basket Analysis” ซึ่งประเมินจากข้อมูลในตารางที่รวบรวมไว้ ผลการวิเคราะห์ที่ได้จะเป็นคำตอบของปัญหา ซึ่งการวิเคราะห์แบบนี้เป็นการใช้ “กฎความสัมพันธ์”(Association Rule) เพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล เช่น การใช้บริการเปิดบัญชีออมทรัพย์ มักมีการเปิดใช้บริการ ATM ด้วย
4.Sequence Discovery : เกิดผลตามหลัง
5.Prediction : เป็นการ Forecast ไปข้างหน้า

Text Mining

ข้อมูลส่วนใหญ่ที่อยู่ใน data warehouse จะเป็นข้อมูลแบบ structured คือมีรูปแบบที่แน่นอน มีชื่อ attribute , ขนาดของ fieldว่ามีกี่ character มีค่าในช่วงที่แน่นอน ซึ่งจะสามารถใช้ Data mining ได้ แต่ในกรณีที่เป็นข้อมูลแบบ unstructured data เช่นข้อมูลที่เป็นอักษร จะไม่สามารถใช้ data mining ได้ เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ไม่ได้มีรูปแบบชัดเจน เช่น complain จากลูกค้า ซึ่งข้อมูลประเภท unstructured นี้มีการเติบโตสูงมาก และองค์กรก็มีแนวโน้มที่จะต้องใช้ประโยชน์จากข้อมูล unstructured เหล่านี้สูงขึ้นเพื่อปรับปรุงองค์กรด้วย


นาย ศุลี พิเชฐสกุล
5202113014

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

AI613 Class8 lecture summary

วันที่ 12 มกราคม 2554

Data management 
ข้อมูล(Data) สารสนเทศ(Information) และ ความรู้(Knowledge)
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง ซึ่งหาได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ หรือสิ่งรอบๆตัว ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ 
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูล(Data)ที่ได้ผ่านการประมวลผล ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และต้องมีความถูกต้องในการประมวลผล จนได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในเวลาที่ต้องการของผู้ใช้
ความรู้ (Knowledge) คือ สารสนเทศ(Information) ที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ มีการเชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดความเข้าใจ และสามารถนำความเข้าใจนั้นไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆได้
ระบบสารสนเทศ(Information System)
เป็นชุดขององค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ ฐานข้อมูล ระบบเครือข่าย ผู้ใช้ ผู้พัฒนาระบบ องค์ประกอบต่างๆเหล่านี้ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ(Input) เพื่อนำมาประมวลผล(Processing) และนำเสนอผลลัพธ์(Output) ที่ได้ ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ และสำหรับผู้ที่มีสิทธิในการใช้สารสนเทศนั้น ซึ่งรวมทั้งการจัดเก็บ บันทึกข้อมูลที่นำเข้ามาสู่ระบบไว้เพื่อการใช้งานในอนาคตอีกด้วย
ปัญหาในการจัดเก็บข้อมูล
       
         - ข้อมูลมีจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
         - ข้อมูลกมีความซ้ำซ้อน
         - ความจำเป็นที่ต้องการใช้ข้อมูลจากภายนอกเพื่อใช้ในการตัดสินใจ
         - ประเด็นด้านความปลอดภัย คุณภาพ และความสมบูรณ์ของข้อมูล เป็นประเด็นที่มีความสำคัญ
         - การเลือกเครื่องมือในการจัดการข้อมูล ต้องมีการเปรียบเทียบ Cost และ Benefit

Data Management มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่
  1. Data profiling
  2. Data quality management
  3. Data integration
  4. Data augmentation 
Data Life Cycle Process
  1. เก็บรวบรวมข้อมูล
  2. เก็บข้อมูลไว้ใน Database เป็นการชั่วคราว จากนั้นจึงทำการผ่านกระบวนการเพื่อจัดเก็บข้อมูลไว้ใน Data warehouse
  3. ผู้ใช้เข้ามาดึงข้อมูลใน Data warehouse เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์
  4. วิเคราะห์
Data Source
  • Organization data
  • End user data
  • External data
Characteristic of data warehouse
  • organization
  • consistency
  • time variant
  • non-volatile
  • relational
  • client/server